1. ปุ๋ยเกล็ด แม่ปุ๋ย 0-52-34 KH2PO4 โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต MKP กดยอด เตรียมดอก สะสมอาหาร เร่งน้ําหนัก เร่งขนาด เพิ่มผลผลิต เร่
สูตร 0 – 52 - 34 ชื่อสามัญ โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต คุณสมบัติ เป็นปุ๋ยเคมีชนิดเกล็ดสีขาว ประกอบด้วยปริมาณธาตุอาหารรับรอง ดังนี้ ไนโตรเจนทั้งหมด (N) 0 % ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ( ) 52 % โพแทสเซียมที่ละลายน้ํา ( ) 34 % ประโยชน์สามารถละลายน้ําได้และพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารเข้าทางรากและทางใบ เหมาะสําหรับพืชที่ต้องการธาตุ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียมสูง คําแนะนํา ควรอ่านคําแนะนําเอกสารกํากับปุ๋ยเคมีให้เข้าใจเสียก่อนหากไม่เข้าใจหรือมีปัญหาสงสัยให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่น เพื่อให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและไม่ควรใช้เกินอัตราที่กําหนด เพราะจะเป็นอันตรายกับพืชได้ ข้อควรระวัง 1.โดยทั่วไปแล้วปุ๋ยเคมีพ่นทางใบ พืชใช้ประโยชน์ได้น้อย ควรใช้ปุ๋ยเคมีน้ําเสริมกับการให้ปุ๋ยเคมีทางดิน 2. ควรพ่นในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น ในเวลาที่อากาศไม่ร้อน ลมไม่พัดแรง และคาดว่าฝนไม่ตก 3. ขณะที่พ่น พืชต้องไม่เหี่ยวเฉา หรือขาดน้ํา 4. การพ่น อย่าให้ถึงเปียกโชก เพราะจะทําให้เสียค่าปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีที่ใช้พ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยเคมีที่ใส่ทางดิน 5.ความเก็บรักษาปุ๋ยเคมีในภาชนะที่มิดชิด ในที่ร่มและแห้ง และควรเก็บปุ๋ยเคมีไว้ในที่ปลอดภัย ห่างไกลจากมือเด็ก 6.ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังหรือเข้าตา หากถูกผิวหนังหรือเข้าตาควรล้างด้วยน้ําสะอาดทันที สะสมอาหาร เร่งการออกดอก เร่งใบพืชให้แก่เร็ว ใช้เป็นแม่ปุ๋ยเพื่อผสมปุ๋ยสูตรต่างๆ ใช้สําหรับ 1. ละลายน้ําเพื่อเป็นธาตุอาหารสําหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) 2. ละลายน้ําเพื่อฉีดพ่นพืชโดยตรง โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางใบและสามารถนําไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน 0% ธาตุฟอสเฟสที่เป็นประโยชน์ 52% โพแทชเซียมที่ละลายน้ํา 34% สามารถละลายน้ําได้ง่าย ไม่มีตะกอนและพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้ทันที ธาตุฟอสฟอรัส หน้าที่และความสําคัญต่อต้นพืช 1. ช่วยให้ราดดึงดูดโปแตสเซียมเข้ามาใช้เป็นประโยช์ได้มากขึ้น 2. ช่วยแก้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป 3. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต 4. ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วนในการออกดอก และสร้างเมล็ดของพืช 5. เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทําให้ผลผลิตมีคุณภาพดี 6. ทําให้ลําต้นของพืชจําพวกข้างแข็งขึ้นไม่ล้มง่าย อาการของพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส 1. พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลําต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็ง แต่เปราะและหักง่าย 2. รากจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายลงในดินช้างกว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ หรือบางครั้งอาจหลุดร่วงไป หรืออาจมีขนาดเล็ก หรือค่อนข้างจะสุกหรือแก่ช้ากว่าปกติ 3. พืชจําพวกลําต้นอวบน้ําหรือลําต้นอ่อน ๆ จะล้มง่าย 4. ใบแก่จะเปลี่ยนสีหรือพืชบางชนิดใบจะเป็นสีม่วง ใบมีลักษณะสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ และลําต้นจะเห็นเด่นชัด ทางด้านใต้ใบสําหรับฝั่งใบจะมีสีทึบเข้ม อาการจะเกิดขึ้นกับใบล่าง ๆ ของต้นขึ้นไปหายอด ธาตุโปแตสเซียม หน้าที่และความสําคัญต่อต้นพืช 1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทําให้รากดูดน้ําได้ดีขึ้น 2. มีความจําเป็นต่อการสร้างเนื้อของผลไม้ให้มีคุณภาพดี 3. ทําให้พืชมีคามต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ 4. ทําให้พืชมีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ 5. ช่วยป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพืช เนื่องจากการได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเมากเกินไป 6. ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืชผักและผลไม้ โดยทําให้พืชมีสีสัน ขนาด ความหวาน และคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ อาการของพืชที่ขาดธาตุ