1. พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก พิมพ์ทรงเจดีย์ เนื้อผงพิเศษ5ประการ
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ทุกพิมพ์ องค์พระประธานจะมีไหล่ที่แคบกว่าเล็กน้อย แม่พิมพ์ลึกมาก จึงเห็นองค์พระเด่นชัดทั้งองค์ แม้แต่พระกรรณทั้งสองข้างก็ติด พระเกศเรียวคมยาวจรดซุ้ม พระเศียรกลมโต ไหล่แคบ และมีเส้นสังฆาฏิ ตักเป็นทรงหมอน ฐานทั้งสามชั้นล่ําใหญ่และซ้อนเป็นชั้น ชั้นล่างสุดจะกว้างที่สุด เกือบจรดซุ้มเรือนแก้ว ฐานชั้นที่ 2 เป็นโต๊ะขาสิงห์ แต่เตี้ยและขาสิงห์สั้น พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ท่านสร้างและบรรจุพระสมเด็จบางขุนพรหมไว้ในองค์พระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหม เมื่อประมาณ พ.ศ.2413 วัดบางขุนพรหม เป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดวรามะตาราม แปลว่า วัดที่เจริญไม่รู้เสื่อม และเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น วัดใหม่อมตรส แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกชื่อว่า วัดบางขุนพรหมใน ส่วนวัดบางขุนพรหมนอก นั้นก็คือ วัดอินทรวิหาร พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เท่าที่พบมีทั้งหมด 10 พิมพ์คือ 1. พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ 2. พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์ 3. พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม 4. พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม 5. พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ปรกโพธิ์ (มีน้อย) ห้าพิมพ์ทรงข้างต้นนี้ตรงกับพิมพ์ของพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และยังมีพิมพ์อื่นเพิ่มขึ้นอีก 4 พิมพ์ทรง คือ 6. พิมพ์ฐานคู่ 7. พิมพ์สังฆาฏิ 8. พิมพ์เส้นด้าย 9. พิมพ์อกครุฑ 10. พิมพ์ไสยยาสน์ เนื้อพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เนื้อพระของพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม ส่วนใหญ่เป็น เนื้อสีขาวและขาวอมเหลือง หนึกแกร่ง มีฝ้ากรุฉาบโดยทั่วไปเนื้อพระเป็นชนิดมีคราบและมีฝ้า อย่างที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “สนิมกรุ หรือคราบกรุ” คราบนี้มีสีขาวหรือค่อนข้างขาวติดแนบแน่นอยู่บนพื้นผิวขององค์พระ ขี้กรุของพระบางองค์มีสีน้ําตาลเข้ม บางองค์คราบกรุบาง บางองค์คราบกรุหนาเมื่อใช้ไปนาน ๆ หรือถูกสัมผัสมากผิวจะเกิดมันละเลื่อมขึ้น มวลสารของพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม เนื้อหาพระสมเด็จส่วนใหญ่เป็นปูนขาว เพื่อสร้างพระได้จํานวนมาก (ประมาณวัสดุ) ซึ่งเป็นปูนเปลือกหอย อันเป็นคํายืนยันจากพระธรรมถาวร (ช่วง) ลูกศิษย์ของสมเด็จฯ เนื้อปูนที่ท่านเอามาตําและร่อนจนมีเนื้อนุ่มละเอียด นอกจากนั้นท่านว่ามีส่วนผสมเป็นข้าวสุก เนื้อกล้วย ตัวประสานเป็นน้ํามันตังอิ๊ว เพื่อไม่ให้พระแตกร้าวอีกด้วย นอกจากนั้นเป็นมวลสารที่เป็นวัตถุมงคล (อิทธิวัสดุ) ซึ่งแบ่งเป็น 7 อย่างคือ 1.ผงวิเศษ 5 ประการ คือ ผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห 2. ผงใบลานเผา 3. เกสรดอกไม้ 4. ว่าน 5. ทรายเงินทรายทอง 6. เถ้าธูป 7. น้ํามันจันทน์ NoBrand